เมนู

คำว่า ภาวนฏฺเฐ - ในอรรถว่าเจริญ ความว่า ในสภาวะที่ควร
เจริญ 4 อย่าง มีการนำออกเป็นต้นแห่งมรรค.

60 - 63. อรรถกถาทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาญาณุทเทส


ว่าด้วย ทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ


บัดนี้ เพื่อจะแสดงสัจญาณเป็นแผนก ๆ ไปด้วยสามารถแห่ง
การพิจารณาถึงมรรคที่ได้เจริญแล้วก็ดี ด้วยอำนาจการได้ยินได้ฟังของ
ผู้ไม่ได้อบรมมรรคก็ดี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอาญาณ 4
มีทุกขญาณเป็นต้นขึ้นแสดง.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทุกฺเข - ในทุกข์ ทุ ศัพท์ ในคำนี้
ย่อมปรากฏในอรรถว่า น่าเกลียด. ชนทั้งหลายย่อมเรียกบุตรน่าเกลียด
ว่า ทุปุตตะ - บุตรชั่ว. ศัพท์นั้นย่อมปรากฏในอรรถว่าว่างเปล่า.
จริงอยู่ท่านเรียกอาการที่ว่างว่า ขํ. ก็สัจจะที่ 1 นี้ ชื่อว่า น่าเกลียด
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะเป็นอเนก, ชื่อว่า ว่างเปล่า เพราะเว้นจาก
ความยั่งยืน, ความงาม, ความสุข, และอัตตาอันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
ของพาลชน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทุกข์ เพราะความเป็น
ของน่าเกลียด และเพราะเป็นความว่างเปล่า.